อันตรายการใช้ภาชนะโฟม (No Foam) |
อันตรายการใช้ภาชนะโฟม (No Foam)
กรมอนามัย 28 ก.ค.-กรมอนามัยรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข หวั่นอาหารร้อนทำภาชนะละลาย ส่งผลให้มีสารสไตรีนปนเปื้อนในอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย รณรงค์ลดละเลิก การใช้โฟมใส่อาหารทั่วประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ทั้งเต้านม ตับ และต่อมลูกหมาก สะสมนานเสี่ยงเป็นหมัน และลูกที่เกิดอาจมีความเสี่ยงเป็นดาวน์ซิโดรม โฟมที่ใช้การทำกล่องโฟมใส่อาหารทำจากโพลีสไตรีนที่จะขยายตัวเมื่อโดนความร้อน ย่อยสลายยาก และสะสมในร่างกายได้ถึงร้อยละ70 ส่วนถุงร้อนใส่อาหาร ทำมาจากโพลีไพลีน และถุงใส่อาหารแช่แข็ง ทำจากโพลีเอสเทรีน ซึ่งรองรับความร้อนได้ 70 องศาเซลเซียสเท่านั้น
ปัจจัยที่ทำให้เราได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟม ได้แก่
1. การที่อุณหภูมิร้อนขึ้นหรือเย็น ลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
2. การปรุง อาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชู แอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
3. การซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานๆ ไม่ได้รับประทาน อาหารก็จะดูดสารสไตรีนได้มาก
4. การนำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก
5. ถ้าอาหารสัมผัสพื้น ที่ผิวกล่องโฟมมากๆ รวมถึงการตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร จะทำให้ได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว
ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนให้คนไทยปรับพฤติกรรมการบริโภคลดการใช้โฟม ใส่อาหารหันมาบริโภคอาหารที่ร้านค้าใช้โฟมจากวัสดุธรรมชาติชานอ้อยแทน หรือใส่ปิ่นโต กล่องพลาสติกใส่อาหารเท่านั้น สำหรับโรงอาหารกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัยได้มีการเจรจากับร้านค้า111 ร้านภายในกระทรวง ให้หันมาใช้โฟมจากวัสดุธรรมชาติใส่อาหาร ตั้งแต่ต้นปี 2557 และจากการสำรวจของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย พบว่า ส่วนใหญ่ของร้านผู้ประกอบการอาหาร มักใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 53.50 ใช้ถ้วย ร้อยละ 32.46. |
|
|
|
|
|
โพสเมื่อ : 04 มิ.ย. 2561 |
|
|